ดอกดิน ๑

Aeginetia pedunculata Wall.

ชื่ออื่น ๆ
กะเปเส้, เพาะลาพอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ข้าวก่ำนกยูง (เลย); นูนดิน (ตาก); พิศวง (กรุงเท

ไม้ล้มลุก อวบมีเนื้อ เป็นพืชเบียนราก ไม่มีคลอโรฟิลล์ ลำต้นรูปทรงกระบอกสั้น มักแตกแขนง ไม่มีใบ ช่อดอกแบบช่อกระจะสั้น หรือดอกมักออกเป็นกระจุก กระจุกละ ๒-๕ ดอก พบบ้ำงที่เป็นดอกเดี่ยว ดอกสีม่วงแกมสีขำว ผลแบบผลแห้งแตก ทรงรูปไข่ถึงรูปทรงเกือบกลม มีโคนก้ำนยอดเกสรเพศเมียติดทนเป็นติ่งแหลมอ่อน เมล็ดขนาดเล็กมำก สีน้ำตาลอ่อน มีจำนวนมาก


     ดอกดินชนิดนี้เป็นไม้ล้มลุก อวบมีเนื้อ สูงได้ถึง ๑๕ ซม. เป็นพืชเบียนราก ไม่มีคลอโรฟิลล์ ลำต้นรูปทรง กระบอก ยาว ๒-๖ ซม. เกลี้ยง ส่วนใหญ่มีสีเหลืองถึง สีน้ำตาลแดง มักแตกแขนง ไม่มีใบ

 


     ช่อดอกแบบช่อกระจะสั้น หรือดอกมักออก เป็นกระจุก กระจุกละ ๒-๕ ดอก พบบ้างที่เป็นดอกเดี่ยว ดอกตูมรูปทรงรี ปลายแหลม ก้านดอกหนา ยาว ๒-๔ ซม. พบน้อยที่ยาวได้ถึง ๑๐ ซม. ใบประดับคล้ายเกล็ดรูปไข่ แกมรูปสามเหลี่ยม เรียงเวียนที่โคนก้านดอก กว้างประมาณ ๕ มม. ยาวประมาณ ๑ ซม. เกลี้ยง ปลายแหลมหรือมน กลมเล็กน้อย กลีบเลี้ยงสีเหลืองอ่อนเกือบขาวถึงสีชมพู อ่อน เชื่อมติดกันเป็นรูปเรือ ด้านหน้าแยกออกจนถึง โคน ยาว ๓-๕ ซม. ปลายเป็นติ่งแหลมอ่อนและอาจโค้งลง มักเป็นมันวาว กลีบดอกสีม่วงแกมสีขาว เชื่อมติดกันคล้าย รูปแตรเบี้ยวหรือรูปปากเปิดไม่เด่นชัด ยาว ๕-๗.๕ ซม. ปากหลอดกลีบดอกกว้างประมาณ ๕ ซม. หลอดกลีบดอก สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน โค้งงอเล็กน้อย ส่วนที่โผล่พ้นเหนือ กลีบเลี้ยงยาว ๒.๕-๓ ซม. หลอดกลีบดอกส่วนบนและ แฉกกลีบดอกสีม่วงหรือสีน้ำเงินอมม่วง บริเวณคอหลอด ดอกและตรงกลางของแฉกกลีบดอกซีกล่างมีสีเหลือง กลีบดอกปลายแยกเป็น ๕ แฉก แยกเป็น ๒ ซีก เห็นไม่ ค่อยชัด ซีกบน ๒ แฉก ซีกล่าง ๓ แฉก แฉกรูปกลม รูปไตหรือรูปคล้ายสามเหลี่ยม ยาว ๕-๘ มม. แผ่กางออก ขอบ โค้งขึ้น หยักซี่ฟันถี่ หยักมน หรือหยักไม่เป็นระเบียบ เกสร เพศผู้ ๔ เกสร มี ๒ คู่ยาวไม่เท่ากัน ติดอยู่ภายในหลอด กลีบดอกบริเวณ ๒ ใน ๓ ส่วนจากปากหลอด บริเวณที่ ติดอยู่มีกลุ่มขนเห็นชัดเจน ปิดคลุมปากหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูรูปเส้นด้าย เกลี้ยง อับเรณูมี ๒ ช่อง ที่ สมบูรณ์ ๑ ช่อง อีก ๑ ช่องเป็นหมัน มักลดรูปเป็นเดือย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ทรงรูปไข่ มี ๑ ช่อง มีออวุลจำนวน มาก ก้านยอดเกสรเพศเมียคล้ายรูปทรงกระบอก ปลาย โค้งยาวประมาณ ๒ ซม. เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียเป็น ตุ่มกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง ๓-๔ มม. อยู่ภายใน หลอดกลีบดอก

 


     ผลแบบผลแห้งแตก แตกโดยการเน่าเปื่อยของ ผนัง ทรงรูปไข่ถึงรูปทรงเกือบกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ ๒ ซม. เกลี้ยง มีโคนก้านยอดเกสรเพศเมีย ติดทนเป็นติ่งแหลมอ่อน เมล็ดขนาดเล็กมาก สีน้ำตาล อ่อน มีจำนวนมาก
     ดอกดินชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศ ไทยเกือบทุกภาค พบในป่าเต็งรัง ป่าไผ่ และทุ่งหญ้า ที่สูงจากระดับทะเล ๕๐-๑,๑๐๐ ม. มักขึ้นเบียนกับพืช จำพวกหญ้า ออกดอกและเป็นผลเดือนกรกฎาคมถึง ธันวาคม ในต่างประเทศพบที่อินเดีย เมียนมา จีน เวียดนาม คาบสมุทรมลายู อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
     ประโยชน์ สกัดเป็นสีธรรมชาติสีแดงหรือสีชมพู ใช้ผสมในข้าว อาหาร และขนมหวาน.

 

 

 

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดอกดิน ๑
ชื่อวิทยาศาสตร์
Aeginetia pedunculata Wall.
ชื่อสกุล
Aeginetia
คำระบุชนิด
pedunculata
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Wall.
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Wall. ช่วงเวลาคือ (1786-1854)
ชื่ออื่น ๆ
กะเปเส้, เพาะลาพอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ข้าวก่ำนกยูง (เลย); นูนดิน (ตาก); พิศวง (กรุงเท
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางปริญญนุช กลิ่นรัตน์
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.